กระบอกน้ำพลาสติก มีสารที่เป็นอันตรายจริงหรือไม่
พลาสติกก็นับว่าเป็นวัสดุสำคัญที่มักจะหยิบมาทำกระบอกน้ำอยู่เสมอ กระบอกน้ำนี้เป็นของใกล้ตัวที่เรามักจะหยิบมาใช้งานในชีวิตประจำวันกันอยู่ตลอด หลายคนเกิดความสงสัยว่า หากเป็นกระบอกน้ำที่ทำจากวัสดุอย่างพลาสติกนั้น ในเรื่องของความปลอดภัยจะยังมีหรือไม่ สามารถที่จะหยิบมาใช้ซ้ำ หรือหยิบมาใช้บ่อยๆได้หรือไม่ หรืออาจนำไปไว้ในช่องแช่แข็ง ตั้งทิ้งไว้ในรถที่จอดอยู่กลางแจ้งในวันที่มีแดดร้อนมาก เหล่านี้อาจทำให้กระบอกน้ำของเราปล่อยสารอันตรายออกมาปนเปื้อนในเครื่องดื่ม และอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคหรือเราได้หรือไม่ ความเชื่อนี้เป็นความเชื่อที่จริงแท้แค่ไหน วันนี้เราจะมาคุยกันว่า กระบอกน้ำพลาสติกที่หลายคนอาจจะเลือกใช้นี้ มีสารอันตรายอยู่ข้างในจริงหรือไม่
พลาสติกที่นำมาใช้ในการทำ
ก่อนอื่นก่อนที่เราจะไปคุยกันว่า กระบอกน้ำสแตนเลสนั้นมีสารที่เป็นอันตรายต่อตัวผู้ใช้งานหรือไม่ เราจะต้องเข้าใจก่อนว่า พลาสติกบางชนิดซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้ในการทำ ก็อาจจะปล่อยสารเคมีที่เป็นอันตรายอย่างสาร BPA ได้ แต่พลาสติกที่นำมาใช้ทำกระบอกน้ำนั้น ยอดนิยมจะมีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิดได้แก่ พอลิเอทิลีน (PE) พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET) พอลิพรอพิลีน (PP) พอลิคาร์บอเนต (PC) และพอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) กระบอกน้ำที่ทำจากพลาสติกพอลิคาร์บอเนตและพอลิไวนิลคลอไรด์อาจปนเปื้อนสาร BPA ดังนั้นจึงเป็นวัสดุที่เราควรจะระวังและต้องหลีกเลี่ยงเป็นพิเศษ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าวัสดุที่นำมาใช้ทำกระบอกน้ำชนไม่ล้มจะเป็นวัสดุเหล่านี้ ให้สังเกตง่ายๆ ให้ดูว่ามีเลข 3 หรือเลข 7 พิมพ์อยู่บนผลิตภัณฑ์ของเราหรือไม่ ซึ่งสิ่งนี้เป็นตัวเลขที่บ่งบอกถึงชนิดของพลาสติกที่นำมาใช้
ตั้งทิ้งไว้ในรถตากแดด อันตรายหรือไม่
หลายคนอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับการทิ้งกระบอกไว้ในรถที่จอดตากแดด ว่าอาจจะทำให้มีสารเคมีบางอย่างอันตราย อย่างสารไดออกซิน ปล่อยออกมาในขณะที่ตากแดดนั้น และอาจจะปนเปื้อนในน้ำดื่มของเราทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกายเราได้ แท้จริงแล้วความเชื่อนี้เป็นความเชื่อที่ผิด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้เคยทำการทดลอง บรรจุน้ำลงในกระบอกพลาสติก 5 ชนิด จากพลาสติกรูปแบบต่างกันที่วางขายในท้องตลาด จากนั้นนำไปวางในรถยนต์ที่จอดตากแดดเป็นเวลา 1 วันและ 7 วัน ก่อนจะนำไปวิเคราะห์หาสารนี้ ผลที่ได้คือ ไม่พบสารเคมีอันตรายในกระบอกพลาสติกทั้งหมดเลย
ใส่น้ำร้อนลงไป อันตรายหรือไม่
จนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่เคยมีการศึกษาที่มีการระบุอย่างชัดเจนว่า การเติมน้ำร้อนลงไปจะทำให้ส่งผลเสียได้ แต่ก็อย่างว่า การเติมน้ำร้อนลงไปในกระบอกพลาสติกที่ทำจากพลาสติกโพลีคาร์บอเนต สิ่งนี้ส่งผลทำให้ปล่อยสาร BPA ออกมา ได้เคยมีงานวิจัยทดลอง ที่น้ำร้อนลงในกระบอกพลาสติกนี้ แล้วมีการปล่อยสารอันตรายนี้ออกมามากกว่าถึง 55 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับการเติมน้ำเย็นหรือน้ำอุ่นลงไป
แช่ลงไปในช่องแช่แข็ง อันตรายหรือไม่
คำถามนี้ก็ค่อนข้างมีความน่าสนใจมากเลยทีเดียว ว่าหากเรานำกระบอกพลาสติกลงไปแช่ไว้ในช่องแช่แข็งนั้น จะทำให้ปล่อยสารเคมีซึ่งเป็นอันตรายออกมา อย่างสารไดออกซินได้หรือไม่ แท้จริงแล้วในความเป็นจริง การแช่ลงไปในช่องแช่แข็งนั้นไม่ได้ทำให้กระบอกพลาสติกของเราปล่อยสารดังกล่าวออกมาเลย กลับกันด้วยซ้ำ อาจจะช่วยในการชะลอและป้องกันการปล่อยสารเคมีเหล่านี้ออกมาด้วย
สามารถนำมาใช้ซ้ำได้อย่างปลอดภัยหรือไม่
คำถามสุดท้ายคือ สามารถที่จะหยิบมาใช้ซ้ำได้อย่างอุ่นใจและไม่เป็นอันตรายจริงหรือไม่ มีงานศึกษาวิจัยทั้งจากในประเทศของเราและจากต่างประเทศพบว่า สารเคมีจากกระบอกพลาสติกไม่ได้เกินคาดที่กำหนดไว้ตามมาตรฐานสากล ดังนั้น จึงไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค และสามารถนำมาใช้ซ้ำเรื่องอุ่นใจแน่นอน