กระบอกน้ำพลาสติก อันตรายที่จะใช้งานจริงหรือไม่
พลาสติกนับว่าเป็นวัสดุที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก และมักจะถูกใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ในที่นี้เราจะมาพูดถึงกระบอกน้ำในรูปแบบพลาสติก ซึ่งของชิ้นนี้ถือเป็นของใกล้ตัวและของที่หยิบมาใช้ในชีวิตประจำวันกันอยู่ตลอด สำหรับหลายคนที่ใช้กระบอกน้ำอยู่นั้น เรามักจะพบเห็นการใช้ในรูปแบบของกระบอกน้ำสแตนเลส หรือเป็นแบบที่แก้วน้ำเก็บความเย็นได้ หรือแก้วมัคแบบกระบอกน้ำพลาสติกก็ค่อนข้างได้รับความนิยมเหมือนกัน มันค่อนข้างมีความยืดหยุ่นสูง สามารถใช้ได้หลายอัน และการเป็นพลาสติกทำให้นำไปดีไซน์ได้หลากหลายรูปแบบมากกว่า
แต่หลายคนที่ใช้กระบอกน้ำพลาสติก ก็อาจจะมีเรื่องกังวลอยู่บ้างเหมือนกัน หนึ่งในนั้นคือเรื่องของปัญหาความปลอดภัย ในปัจจุบันการใช้งานกระบอกน้ำพลาสติก ยังคงมีอันตรายอยู่หรือไม่ มันสามารถหยิบมาใช้ซ้ำและใช้บ่อยได้อยู่หรือไม่ หรือแม้แต่การนำไปไว้ในช่องแช่แข็ง หรือตั้งทิ้งไว้ในรถ และนำมาจอดไว้กลางแดดยังสามารถทำได้หรือไม่ สิ่งเหล่านี้อาจทำให้มีสารอันตรายออกมาจากตัวพลาสติกหรือไม่ วันนี้เรามาคุยกัน
พลาสติกที่นำมาใช้ในการทำกระบอกน้ำ
ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อน ถึงเกรดของพลาสติกสำหรับใช้ในการทำกระบอกน้ำของเรา และพลาสติกเหล่านี้มีสารที่อันตรายต่อตัวผู้ใช้งานหรือไม่ ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า พลาสติกบางชนิดซึ่งเป็นวัสดุสำคัญที่ใช้ในการทำ อาจจะมีการปล่อยสารเคมีที่เป็นอันตรายอย่างสาร BPA ได้แต่ส่วนมากแล้วพลาสติกที่ใช้สำหรับการทำกระบอกน้ำของเรา ที่เป็นพลาสติกยอดนิยมจะมีอยู่ด้วยกันประมาณ 5 ชนิดได้แก่ พอลิเอทิลีน (PE) พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET) พอลิพรอพิลีน (PP) พอลิคาร์บอเนต (PC) และพอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC)
หากทำจากพลาสติกในรูปแบบของพอลิคาร์บอเนตและพอลิไวนิลคลอไรด์ อาจมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสาร BPA ดังกล่าว ดังนั้นหากเป็นพลาสติกเกรดนี้ ผู้ใช้งานอาจจะต้องระวังและพยายามหลีกเลี่ยงเป็นพิเศษ คำถามต่อมาคือเราจะรู้ได้อย่างไร ว่าวัสดุสำหรับทำกระบอกน้ำของเราจะเป็นวัสดุดังกล่าวนี้ หากจะให้ง่ายที่สุด ให้เราลองสังเกต มันจะมีตัวเลขอยู่ หากมีเลข 3 หรือเลข 7 พิมพ์อยู่บนวัสดุผลิตภัณฑ์ของเรา แสดงว่าเป็นพลาสติกเกรดนี้ ซึ่งตัวเลขเหล่านี้จะทำการบ่งบอกถึงชนิดของพลาสติกที่จะนำมาใช้
การนำมาใส่เครื่องดื่มร้อน
จนแม้กระทั่งในปัจจุบันนี้ เราก็ไม่เคยที่จะมีการศึกษาและถูกระบุอย่างชัดเจน ว่าการที่เราใส่น้ำร้อนหรือเครื่องดื่มร้อนลงไป มันจะส่งผลเสียอย่างไร แต่หากเราลองมาดูกันตามจริง การใส่น้ำร้อนหรือเครื่องดื่มร้อนลงไปในพลาสติกแบบพอลิคาร์บอเนต มันอาจส่งผลทำให้ปล่อยสาร BPA ออกมา เคยมีการทดลองที่นำน้ำร้อนใส่ลงไปใน แก้วน้ำที่เป็นพลาสติก แล้วพบว่ามีการปล่อยสารที่ว่านี้ออกมามากกว่าปกติถึง 55 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับการใส่น้ำเย็นหรือน้ำอุ่นลงไป
นำไปตั้งทิ้งไว้ในรถกลางแดด
แล้วคำถามต่อไปก็คือ หากเรานำอุปกรณ์ชิ้นนี้ไปไว้ในรถที่จอดอยู่กลางแดดเป็นเวลานาน มันอาจทำให้สารเคมีบางอย่างหลุดออกมาได้หรือไม่ นอกจากสาร BPA แล้วยังมีอีกสารหนึ่งที่เราอาจจะเคยได้ยินอย่างชื่อ “ไดออกซิน” มีความเชื่อว่ามันอาจถูกปล่อยออกมาในขณะที่นำไปตั้งตากแดดไว้ และอาจเข้ามาปนเปื้อนในเครื่องดื่มของเราซึ่งจะเป็นอันตรายต่อร่างกายต่อไปได้ แต่ที่จริงแล้วความเชื่อนี่ก็ไม่ได้ถูกเสียทีเดียว เคยมีการทดลอง นำน้ำบรรจุลงไปในแก้วพลาสติก 5 ชนิดเลย ซึ่งเป็นพลาสติกที่วางขายกันในท้องตลาดนั่นแหละ นำไปตากแดดไว้เป็นเวลา กว่า 1 วันจนถึง 7 วัน ผลที่ได้คือไม่พบสารเคมีอันตรายเลย