ใช้กระบอกน้ำพลาสติกอันตรายหรือไม่ ?
เพราะความ ทนทาน น้ำหนักเบา ขึ้นรูปได้ง่าย และใช้ต้นทุนต่ำ จึงทำให้วัสดุพลาสติกยังคงได้รับความนิยมในการนำมาผลิตเป็นสินค้าต่าง ๆ มากมาย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ กระบอกน้ำพลาสติก ที่นับเป็นสิ่งหาซื้อได้ง่ายแถมราคาไม่แพง จึงทำให้ไม่ว่าใครก็นิยมซื้อมาเป็นของใช้ส่วนตัวหรือสำหรับคนในครอบครัว แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีผู้คนอีกมากซึ่งเชื่อว่า การใช้กระบอกน้ำพลาสติกนั้นค่อนข้างเสี่ยงที่จะพบกับสารเคมีตกค้างที่อาจหลุดออกมาจากวัสดุจนอาจเข้าไปสะสมอยู่ในร่างกายทำให้เกิดอันตราย โดยในวันนี้เราจะมาคลายข้อสงสัยกันว่า ปัญหาดังกล่าวที่มีอยู่ในกระบอกน้ำพลาสติกสามารถเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่
พลาสติกที่ใช้ผลิตกระบอกน้ำ
วัสดุที่ใช้ในการผลิตสินค้ากระบอกน้ำพลาสติก มีอยู่ด้วยกันหลากหลายประเภททั้งพลาสติกแบบเก่าที่เคยใช้กันมาตั้งแต่ในอดีต และพลาสติกแบบใหม่ที่มาพร้อมกับคุณภาพรวมถึงความปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้น โดยรวมแล้วในอุตสาหกรรมจะนิยมใช้พลาสติกอยู่ 5 ประเภทได้แก่ พอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC), พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET), พอลิพรอพิลีน (PP), พอลิเอทิลีน (PE) และ พอลิคาร์บอเนต (PC)
โดยจากพลาสติกทั้ง 5 ประเภทที่กล่าวมาจะมี พอลิไวนิลคลอไรด์ และ พอลิคาร์บอเนต ซึ่งเป็นวัสดุที่มีโอกาสพบสาร BPA ปนเปื้อนเข้ามากับผลิตภัณฑ์ แต่ถ้าหากเลือกซื้อสินค้าที่มีมาตรฐานจากแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ โอกาสที่จะพบกระบอกน้ำซึ่งผลิตจากวัสดุเหล่านี้ก็จะมีน้อยมาก หรือถ้าต้องการอยากจะตรวจสอบเพื่อความสบายใจจริง ๆ ก็ให้ดูว่ามีเลข 3 หรือเลข 7 ปรากฏอยู่บนผลิตภัณฑ์หรือไม่ เพราะเป็นตัวเลขที่ระบุถึงชนิดพลาสติกทั้งสองชนิดในการนำมาใช้ผลิต
ความร้อนกับพลาสติก
แม้พลาสติกจะเป็นวัสดุที่มีความทนทาน แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่ามันสามารถเสื่อมสภาพได้เมื่อต้องเผชิญกับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง โดยจะเสื่อมเร็วแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของวัสดุที่ใช้ ซึ่งผู้ใช้ควรพยายามเก็บกระบอกน้ำไว้ในสถานที่ที่มีอุณหภูมิปกติ อย่าให้มันต้องเผชิญหน้ากับความร้อนนานหากไม่จำเป็น
แล้วเราควรจะทำอย่างไรเพื่อรักษาสภาพกระบอกน้ำพลาสติกให้ปลอดภัยจากความร้อนให้ได้มากที่สุด
1.หลีกเลี่ยงการบรรจุน้ำร้อน
แม้จะไม่ได้มีการกล่าวถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเทน้ำร้อนลงในกระบอกน้ำพลาสติกอย่างชัดเจน หรือต้องใช้น้ำอุณหภูมิสูงไม่เกินเท่าไหร่ถึงจะปลอดภัย แต่สำหรับพลาสติกโพลีคาร์บอเนตแล้วหากโดนน้ำร้อน สาร BPA ก็จะออกมาในปริมาณมากทันที ฉะนั้นหากกระบอกน้ำของคุณไม่ได้ใช้วัสดุดังกล่าว ก็สามารถอุ่นใจได้
2.ระวังการตากแดด
แม้จะมีการวิจัยจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ที่ทดลองวางกระบอกน้ำพลาสติกทั้ง 5 ชนิดไว้ในรถ แล้วจอดตากแดดเป็นเวลา 7 วัน ก่อนพบว่าไม่มีสารอันตรายใด ๆ ปนเปื้อนอยู่ในน้ำเลย แต่ทั้งนี้การวางตากแดดไว้ในรถบ่อย ๆ มันย่อมส่งผลให้กระบอกน้ำเสื่อมสภาพได้เหมือนกัน โดยเฉพาะสีที่ใช้ในการตกแต่งสินค้า หรือวัสดุยางที่ใช้เป็นส่วนประกอบของกระบอกน้ำ
ส่วนในกรณีของการแช่ในช่องแช่เย็น ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อวัสดุพลาสติกแต่อย่างใด กลับกันมันยังช่วยส่งเสริมการป้องกันไม่ให้มีสารเคมีหลุดออกมาได้ง่ายอีกด้วย
นอกจากนี้แล้วอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องระวังคือ การทำลายพื้นผิวพลาสติก ซึ่งสามารถเกิดได้จากการใช้ช้อนคนเครื่องดื่มอย่างรุนแรง การใช้ฟองน้ำที่เป็นด้านฝอยขัดในการทำความสะอาด หรือแม้แต่การใช้ผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างที่ไม่ได้มาตรฐาน ก็สามารถทำให้พื้นผิวพลาสติกเสื่อมสภาพได้เช่นเดียวกัน
เมื่อใช้สินค้าที่น่าเชื่อถือประกอบกับรู้จักวิธีการดูแลอย่างถูกต้อง ข้อกังวลเกี่ยวกับการใช้กระบอกน้ำพลาสติกก็จะหมดไป เพราะนอกจากจะช่วยความเสริมสร้างปลอดภัยในระหว่างการใช้งานแล้ว กระบอกน้ำที่เราใช้ก็จะสามารถคงสภาพเดิมไว้ได้ยาวนาน ไม่ต้องคอยเปลี่ยนซื้อใช้ใหม่บ่อย ๆ ให้เสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นหรือหากไม่ต้องการใช้กระบอกน้ำพลาสติกในปัจจุบันที่กำลังนิยมใช้กันอยู่คือกระบอกน้ำสแตนเลสและแก้วน้ำเก็บความเย็นที่มารถเก็บอุณหภูมิร้อนหรือเย็นได้ถึง6-12ชั่วโมงเลยทีเดียว